วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ


: กลุ่มที่ 1 :: เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ


                                          นาย ปูม พงษ์สิทธิผล ม.4/8 เลขที่ 1


นาย พัสกร วงศ์ประสิทธิ์ ม.4/8 เลขที่ 11

นาย/ง กตัญญู ใจรินทร์ ม.4/8 เลขที่ 21
นางสาว บุษยานี สมทัศน์ ม.4/8 เลขที่ 31


นางสาว นิวาริน ไหวเคลื่อน ม.4/8 เลขที่ 41


นาย รินทร์นิวัฒน์ ยุวัฒน์ ม.4/8 เลขที่ 51


เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 

   
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน 


เราลองจินตนาการดูว่า  เราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้   เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ  ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือสาระบันเทิง  เราใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน  ดูรายการทีวีหรือวีดิทัศน์  ระหว่างมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  ที่ศูนย์การค้าเราขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนที่มีการควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  ที่บ้านอาจมีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ  ทำอาหารด้วยเตาอบ  ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า  จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน 

ในอดีตยุคที่มนุษย์ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน   มีชีวิตที่เร่ร่อน   มีอาชีพเกษตรกรรม  ล่าสัตว์  ต่อมามีการรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง    และทำให้เกิดการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการปริมาณมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530  เป็นต้นมา  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง  ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน  เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว 




นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
   
คำว่า   “เทคโนโลยี”     หมายถึง    การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ    และการนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์    เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมาย กว้างไกล  เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา 



   
ส่วนคำว่า สารสนเทศ”  หมายถึง  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  เป็นจำนวนมาก     เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่    กฎเกณฑ์และวิชาการ 



   
ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ  การเรียกใช้  การประมวลผล  และการคิดคำนวณ  ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ  เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา  ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย  และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก  เครื่องจักร  อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์รอบข้าง  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่   ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน 
   
เมื่อรวมคำว่า เทคโนโลยีกับ สารสนเทศ”  เข้าด้วยกัน  จึงหมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึง  เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ  การใช้  และการดูแลข้อมูล 

                                   




  เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวาง   รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก  ดังนี้
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากก็มีการใช้เดินสอดำระบายตามช่องที่เลือกตอบ  เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้  เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code)  พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องอ่านรหัสแท่งเพื่ออ่านข้อมุลการซื้อสินค้า  เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน  การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล  จะเห็นได้ว่าการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บได้หลายแบบ 



        2. การประมวลผล  ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นบันทึก  
แผ่นซีดี  และเทป  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามความต้องการ  เช่น  แยกแยะข้อมูล
เป็นกลุ่ม  เรียงลำดับข้อมูล  คำนวณ  หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น 



      3. การแสดงผลลัพธ์  คือการนำผลจากการประมวลผลที่ได้  มาแสดงผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ   อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์มีมาก  สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ  รูปภาพ   ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ     การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ     เสียง  และวีดิทัศน์  เป็นต้น 


        4. การทำสำเนา  เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  การทำสำเนาจะทำ
ได้ง่าย  และทำได้เป็นจำนวนมาก  อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำสำเนาจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศอีกประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  เรามีเครื่องพิมพ์  เครื่องถ่ายเอกสาร  อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  แผ่นบันทึก  ซีดีรอม  ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก 



        5. การสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ  ปัจจุบันมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท    ตั้งแต่โทรเลข  โทรศัพท์  โทรสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบของสื่อหลายอย่าง  เช่น  สายโทรศัพท์  เส้นใยนำแสง  เคเบิลใต้น้ำ  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ   และดาวเทียม


                                          


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดยพื้นฐานของเทคโนโลยี ย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้  แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก   ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีดังนี้
        1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ   ในระบบการจัดการขององค์กรทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและตัดสินใจ    ระบบธุรกิจจึงใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินการเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ  เช่น  ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น  เมื่อมีการพัฒนาระบบเก็บและใช้ข้อมูล  ทำให้การบริการต่างๆอยู่ในรูปแบบการบริการแบบกระจาย  ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน  สามารถถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์  นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
        3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ  ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร  ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล  ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีซึ่งในปัจจุบันองค์กรทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 

      4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน   







  พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
             ในเอกสารการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  กล่าวถึงคุณสมบัติของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของการใช้อุปกรณ์  เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆดังนี้
             -การรวมตัวกันของเทคโนโลยี(Convergenceเทคดนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์  การสื่อสาร รวมถึงระบบเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การกระจายเสียงเข้าไว้ด้วยกัน  ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณ โดยเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่อแบบผสม  ที่ประกอบด้วยภาพ เสียงและข้อความต่างๆได้อย่างรวดเร็ว สมบูรณ์และสามารถส่งได้ปริมาณมาก  การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆทำได้อย่างทั่วถึงกันมากขึ้น  โดยเฉพาะการเผยแพร่ยุคไร้พรมแดน
             - ต้นทุนที่ถูกลง(Cost reduction) เทคโนโลยีมีคุณสมบัติทำให้ราคาและการเป็นเจ้าของ  อุปกรณ์เทคโนโลยีถูกลง ทั้งในส่วนของอัตราค่าบริการสื่อโทรคมนาคม เช่น  ค่าโทรศัพท์  ค่าบริการอินเทอร์เน็ต  ค่าเช่าสัญญาณเครือข่าย    รวมถึงราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์   มีแน้มโน้มถูกลงเรื่อยๆ
             - การพัฒนาอุปกรณ์ที่เล็กลง(Miniaturization)  อุปกรณ์เทททททคโนโลยีสารสนเทศหลากหลายประเภท  รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ได้รับการพัฒนา  ให้มีขนาดเล็กลงกว่าแต่เดิมมาก  ด้วยวิวัฒนาการของไมโครชิพ  ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
             - การประมวลผลที่ดีขึ้น(Processing  Power)  โดยอาศัยพัฒนาการของผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลางหรือพีซียูที่ทำงานเร็ซฃวขึ้นกว่าเดิม  รวมถึงการสร้างโปรแกรมเพื่อตอบสนองการทำงานของผู้ใช้ที่มีประสิทธืภาพดียิ่งขึ้น
             - การใช้งานทีง่าย(User  Friendliness)  การพัฒนาโปรแกรมในปัจจุบัน  มีการออกแบบส่วนประสานงานกับผู้ใช้เพื่อช่วยเหลือ  และสนับสนุนการทำงานให้ง่ายยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยีมากนัก  หรือที่เรียกว่า  user-friendliness  นั่นเอง
             - การเปลี่ยนอะตอมเป็นบิต(Bits versus  Atoms) ทิศทางของความนิยมและการกระจายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว  ผ่านการใช้งานโดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการหันเหกิจกรรมที่ใช้ "อะตอม" เช่นการส่งเอกสารที่เป็นกระดาษ  ไปสู่การใช้"บิต"มากยิ่งขึ้น  ปัจจุบันจะเห็นว่าหลายองค์กรปรับเปลี่ยนการใช้งาน  ที่มุ่งเน้นสู่สำนักงานแบบไร้กระดาษ(paperless  office) กันบ้างแล้ว
             - สื่อผสม(Multimidia)  เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเผยแพร่สารสนเทศ  ที่เป็นแบบสื่อผสมมากขึ้น  ประกอบด้วยสา(รสนเทศที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร  ภาพกราฟฟิก  เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆเข้าด้วยกัน
             - เวลาและภูมิศาสตร์ (Time S Distance)  วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะเงื่อนไขด้าน"เวลา" และ"ภูมิศาสตร์"ได้เป็นอย่างมาก เช่น  การประชุมทางไกล สำหรับองค์การที่มีขนาดใหญ่และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ  หากต้องการจัดประชุมโดยให้ผู้บริหารทุกสาขาเดินทางมายังสำนักงานใหญพร้อมกัน อาจทำได้ไม่สะดวกหรือจัดเวลาไม่ตรงกัน การประชุมแบบทางไกลสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้  หรือการใช้รับสัญญาณดาวเทียม  เพื่อถ่ายทอดสัญญาณรายการเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนชนบทที่ห่างไกล(tele-education) โดยที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องเข้ามาแสวงความรุ้ในเมืองใหญ่  ก็สามารถได้แหล่งความรู้ที่เหมือนๆกัน  เป็นการลดปัญหาในเรื่องภูมิศาสตร์






ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
            1)  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
            -  การปรับปรุงคุณภาพ
            -  การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
            -  การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
            -  การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว          
2)  บุคลากร (People)
3)  วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
4)  เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด 
5)  งบประมาณ (Budget) 
6)  ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7)  การบริหารโครงการ (Project Management)
                   





ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)
2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
                        -  ทักษะด้านเทคนิค
                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์
                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ
                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค
                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)





ขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ
     คำว่า เทคโนโลยี (technology)หมายถึงการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์   การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์  เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้าง

         สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาเรียนรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ เป็นต้น นักเรียนลองนึกดูว่าภายในสมองของนักเรียนเก็บข้อมูลอะไรไว้บ้าง เราก็คงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบ ๆ ตัวเรามากมาย ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ  เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต  หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล  จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ
         ภายในสมองของมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้  การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้เป็นจำนวนมาก  สามารถคำนวณและค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำสามารถทำงานได้ตลอดวันและสามารถส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศมีหลายชนิด เช่น คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์  โทรศัพท์และโทรสาร
         คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์รอบข้างและระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่อง เอ ที เอ็ม (Automatic  Teller Machine:ATM)การจองตั๋วดูภาพยนตร์ผ่านโทศัพท์เคลื่อนที่ การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย และการเรียกผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น
            เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่มีการเก็บรวบรวมไว้ และมีความหมายในตัวเอง
ข้อมูล สำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน ถ้าเราจะนำข้อมูลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ มาใช้ เราก็อาจไม่สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้เลย หรือไม่สามารถใช้ได้มากนัก

สารสนเทศ (Information) หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ มาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีการจัดเก็บ รวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
เทคโนโลยี มีความหมายมาจากคำ 2 คำคือ "Technique" ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า "Logic" ซึ่งหมายถึง ความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันแล้ว จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบ และขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Infornation Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อหรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการ สารสนเทศ




ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                  ในภาวะสังคมปจัจุบัน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นตัวชี้บอกว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคสารสนเทศ ดังจะเห็นได้จากวงการศึกษาสนใจให้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์งานต่างๆ มากขึ้น การบริหารธุรกิจของบริษัทห้างร้านต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในองค์กร ด้วยการเก็บข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำผลลัพธ์มาช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ
                  ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้ทำงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้วจึงนำมาใช้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางด้านธุรกิจในเวลาต่อมา ระยะแรกนี้เรียกว่าระยะของการประมวลผลข้อมูล ( data processing age )
                  ข้อมูลที่ได้มาจะต้องผ่านการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความก็อาจต้องมีการเรียงลำดับ และข้อมูลตัวเลขก็อาจต้องมีคำนวณ จากนั้นจึงทำสรุปได้เป็นสารสนเทศออกมา
                  ถ้าข้อมูลที่นำมาประมวลผลมีจำนวนมากจนเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะจัดการได้ในเวลาอันสั้น ก็จำเป็นจะต้องนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บและประมวลผล เมื่อข้อมูลอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ การแก้ไขหรือเรียกค้นสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว ขณะเดียวกันการทำสำเนาและการแจกจ่ายข้อมูล ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
งานที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลมักเก็บในลักษณะแฟ้มข้อมูล ตัวอย่างเช่น การทำบัญชีเงินเดือนของพนักงานในบริษัท ข้อมูลเงินเดือนของพนักงานที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะรวมกันเป็นแฟ้มข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อพนักงาน เงินเดือน และข้อมูลสำคัญอื่นๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเรียกแฟ้มเงินเดือนมาประมวลผลและสรุปผลรวมยอด ขั้นตอนการทำงานจะต้องทำพร้อมกันทีเดียวทั้งแฟ้มข้อมูล ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing )
                   แต่เนื่องจากระบบงานที่เกิดขึ้นภายในองค์กรค่อนข้างซับซ้อน เช่น รายได้ของพนักงานที่ได้รับในแต่ลัเดือน อาจไม่ได้มาจากอัตราเงินเดือนประจำเท่านั้น แต่อาจมีค่านายหน้าจากการขายสินค้าด้วย ในลักษณะนี้แฟ้มข้อมูลการขาย จะสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเงินเดือน และสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลอื่นๆ เช่น ค่าสวัสดิการ การหักเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ระบบข้อมูลจะกลายเป็นระบบที่มีแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มเชื่อมสัมพันธ์กัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียกแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ ระบบนี้เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล ( database system )
                    การจัดการข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูล จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์ซึ่งนำไปช่วยงานด้านต่างๆอย่างได้ผล ระบบข้อมูลที่สร้างเพื่อใช้ในบริษัทจะเป็นระบบฐานข้อมูลของกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงสารสนเทศที่เป็นจริงของบริษัท สามารถนำข้อเท็จจริงนั้นไปวิเคราะห์และนำผลลัพธ์ไปประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายการจัดการต่างๆ
                    ในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อยู่ที่การใช้สารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ แนวโน้มของระบบจัดการข้อมูลของยุคนี้ เริ่มเปลี่ยนจากระบบงานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบตอบสนองทันที ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง ( online processing ) เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่างๆ ผ่านเครื่องรับ - จ่ายเงินอัตโนมัติหรือระบบเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine : ATM )
                    ขณะที่ประเทศต่างๆยังอยู่ในยุคของการประมวลผลสารสนเทศ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้พัฒนาเข้าสู่การประมวลผลฐานความรู้
( knowledge - base processing ) โดยให้คอมพิวเตอร์ใช้ง่าย รู้จักตอบสนองกับผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจระดับสูง ด้วยการเก็บสะสมฐานความรู้ไว้ในคอมพิวเตอร์ และมีโครงสร้างการให้เหตุผล เพื่อนำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน
                     การประมวลผลฐานความรู้เป็นการประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI )   ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างชิ้นงานประเภทนี้ได้แก่ หุ่นยนต์ ( robot ) และระบบผู้เชี่ยวชาญ ( expert system ) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน

ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและ

       ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ “ไร้พรหมแดน” อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ .2541

        การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบท ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ในลักษณะ เศรษฐศาสตร์เครือข่าย หรือที่เรียกว่า (networked economy) มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว(เพียงแค่กดเม้าส์ของคอมพิวเตอร์)เสมือนดังไม่มีพรมแดนของประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ ทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ส่งผลให้โลกมีสภาพ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว มีการแข่งขันสูงผลกระทบในวงกว้าง (systemic and dynamism ) ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนที่ทำไห้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการปรับตัวพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่

เทคโนโลยีได้เข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตผู้คนและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ กล่าวคือ



1. ด้านการศึกษา

มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยสอน (CAI)โดยทำเป็นสื่อประสม (Multimedia)มีระบบการเรียนการสอนทางไกล (Tele-Education)มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติจริงได้มากขึ้น สำหรับโรงเรียนมัธยม ก็มีการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้เป็นรายวิชาเลือก ในระดับวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย มีเปิดสอนสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา  

2. ด้านการแพทย์

เริ่มตั้งแต่การจัดทำประวัติคนไข้ ไปจนถึงการออกใบเสร็จรับเงิน การพิมพ์ฉลากยา ก็ยังใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะพิมพ์ใส่กระดาษกาวไว้ก่อน เมื่อจะส่งให้คนไข้ก็ติดที่ขวดหรือถุงยา จะได้ไม่ผิดพลาดในการให้ยาตรงตามแพทย์สั่ง บางแห่งให้แพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดความผิดพลาดในการตีความหมายจากลายมือของแพทย์ นอกจากนี้บางแห่งยังมีการรักษาทางไกลโดยผ่านดาวเทียมสื่อสารความเร็วสูง ที่แพทย์ต่างประเทศ สามารถมองเห็นคนไข้ ในประเทศไทย และให้คำแนะนำ ในการรักษาผ่าตัดทันที แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก

3. ด้านการธนาคาร

มีการให้บริการฝาก-ถอนเงิน โอนเงิน ซึ่งมีมานานแล้ว และในปัจจุบันนี้เริ่มมีระบบe-bankingโดยสามารถใช้โทรศัพท์มาทำรายการที่ธนาคารได้ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ธนาคาร นอกจากนี้ ให้บริการบัตรเครดิต อีกหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถถอนเงินที่ตู้ATMที่ใดก็ได้

4. ด้านห้องสมุด

การให้บริการยืม-คืนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นลักษณะที่ต้องยืมผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งจะป้อนข้อมูลการยืม เข้าไป หรือใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(Bar code) และเมื่อคืนหนังสือก็ต้องผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์เช่นเดิม หลายแห่ง เปลี่ยนมาใช้การฝังแถบแม่เหล็กเข้าไปในหนังสือ และมีเครื่องตรวจจับหนังสือที่ถูกนำออกห้องสมุดโดยที่ยังไม่ถูกยืม เพื่อป้องกัน หนังสือสูญหาย

5. ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย

แต่เดิมจะไม่สะดวกกับผู้ซื้อเพราะซื้อตั๋วที่ไหนจะต้องขึ้นรถไฟที่นั่น แต่ในปัจจุบันมีบริการซื้อตั๋วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจะซื้อตั๋วที่สถานีใดก็ได้ กำหนดสถานีต้นปลายทาง ปลายทางได้อย่างอิสระ สามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้มากกว่าเดิม และมีบริการเสริมขึ้นมากมาย เช่น สามารถคืนตั๋วก่อนออกเดินทางที่สถานีใดก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบที่นั่ง ว่าว่างหรือไม่ว่าง ทำได้ทันที ทำให้ไม่เกิดการซื้อตั๋วซ้อนกัน ช่วยลดความผิดพลาดได้มาก และเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการ



6. ด้านธุรกิจ

บริษัท ห้างร้านส่วนใหญ่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระดับผู้ใช้งานโปรแกรม (Users)ซึ่งจะต้องใช้โปรแกรมที่มีใช้ในสำนักงานได้ เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
          

สรุป

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เรื่อยมาทำให้เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไปตามยุคสมัยในการพัฒนา เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ที่เสพเทคโนโลยีอย่างเราๆ ต่อก้าวตามไปให้ทันแต่นั่นต้องหมายถึงการมีสติในการใช้เทคโนโลยีด้วย


















ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ

            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

เทคโนโลยีสารนิเทศเบื้องต้นที่ควรนำมาใช้ในการดำเนินงานทั่วๆไป คือ

การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล

                ในบรรดาองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้งหมด  คอมพิวเตอร์   นับว่ามีบทบาทมากที่สุดต่อการเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ คอมพิวเตอร์เป็น  อุปกรณ์สื่อสารนิเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมสารนิเทศ คอมพิวเตอร์  เปลี่ยนแปลงสภาพการให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดจากการเสียเวลา  สืบค้นสารนิเทศหลาย ๆ นาที หรือหลายชั่วโมงมาเป็นเสียเวลา เพียงไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม  เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่มีบทบาทยิ่งกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นใช้ในโลกมาก่อน คนในสังคมสมัยสังคมสารนิเทศจะเห็น  พัฒนาการด้านนี้ได้อย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพียงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น   แต่กลับเป็นสิ่งที่คนในสังคมสารนิเทศ ต้องรู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นอุปกรณ์และองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารนิเทศ  ที่บรรณารักษ์จะต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่ยุคแรก (พ.ศ.  2487-2501) จนถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา) ได้มีการนำเครื่อง  คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น งานจัดการเอกสารข้อมูลแบบ ต่าง ๆ งานระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการและงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นต้น และจากการแข่งขัน  ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก  และสามารถใช้กันอย่างแพร่หลาย  เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในสังคมสารนิเทศ ปัจจุบัน

            ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท  ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศ  และสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์ กับตนเองก็หลีกเลี่ยงการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไม่ได้

บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้

ด้านการศึกษา


             การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา   และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน  การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์  ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน  เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น  การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน  และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้  คือ

                1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
                2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
                3. เพื่อการสาธิต
                4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
                5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
                6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
                7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว

            ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น   คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ  ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น  ๆ   มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค  จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง  หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น  การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า  ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต  ในประเทศสหรัฐอเมริกา  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา  มี  การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา    มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น  บริษัทเอกชนต่าง ๆ  สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา  หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย  การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

               คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข   คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ   จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ  ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป  ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค  และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์    นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง  คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค  สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น   ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า  อีเอ็มไอสแกนเนอร์  (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก  พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ  ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค

ด้านอุตสาหกรรม

            คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม   โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์   ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง  การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ   งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี  ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป  และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ  และ น่าเบื่อหน่าย  เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก    เป็นการประหยัดแรงงาน  นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า  ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น

ด้านเกษตรกรรม

             การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น   อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง  ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO)  ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น  ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร    นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น

ด้านการเงินการธนาคาร

            การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา  ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร  การฝากถอนเงิน  การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์  การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย  ได้แก่  บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย  ซึ่งเรียกชื่อว่า  บริการเงินด่วน  หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้

ด้านธุรกิจการบิน

             ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้  เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว  เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ   ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน  อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก  และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว  โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา  และสถานที่  รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน

 ด้านกฎหมายและการปกครอง

             ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย  คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ  กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา  กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว  ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า  50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว   โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น  แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก  การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว

ด้านการทหารและตำรวจ

            มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ  ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก    แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน  ได้แก่  การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร  ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ    ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์  ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา  ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค  ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ    และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม  เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ  มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ

ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ

              บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์  ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข  จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50  ล้านคน  ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์  เช่น  การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร  การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น  ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน  ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง


              จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์  มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด    ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้  และภายในบ้านเรือน  คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน  มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว  คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว  บทบาทของคอมพิวเตอร์  ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ  สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้   คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง